วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

บทเรียน และการเรียนรู้ ปี ๒๕๕๖

ปีที่ผ่านไป จากการแสดงความคิดเห็นในสื่อออนไลน์ทุกประเภท โดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง ผมสามารถได้ข้อสรุปเกี่ยวกับคนไทย และการศึกษา "ของผม" มาอย่างหนึ่งว่า

..................

การจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และการวิจัย
ถือว่า "ล้มเหลว" อย่างสิ้นเชิง

..................

ทั้ง ๆ ที่หัวใจของสองวิชานี้ คือ ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จนกว่าจะได้ตรวจสอบ หรือ พิสูจน์ หรือทดลอง หรือปฏิบัติก่อน และ ทุกอย่างต้องมีที่มาที่อ้างอิงได้

แต่จากการโพสต์ และแชร์ของนักศึกษาก็ดี หรือ คนที่เรียนจนจบปริญญาโท และปริญญาเอกก็ดี หรือแม้แต่คนที่เป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่ง ทั้งในโรงเรียนทั่วไป และโรงเรียนที่จัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์โดยตรงก็ตาม

กลับปรากฏว่า....

สิ่งที่เขาโพสต์ เขาแชร์
ไม่มีกรอบแนวคิด "หลักการ" ที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผล
ไม่ว่าจะเป็น "สัจจธรรม" หรือ "กฏ" หรือ "ทฤษฏี" ใดๆ
มีแต่ "ความรู้สึก" และ "ความเชื่อ" ล้วนๆ


แม้สิ่งที่เขาเรียกว่า "ข้อมูล"
ก็ไม่อ้างอิงที่มา(Reference)ให้เชื่อถือ หรือพิสูจน์ยืนยันได้
รวมทั้งเขาไม่หาข้อมูลเพิ่มเติมทุกด้าน มาเปรียบเทียบ

พูดได้คำเดียวว่า "เสียดาย" จริงๆ

......................

จึงถือได้ว่า การจัดการศึกษาของไทย
ในมือของคนที่คิดว่าตัวเองเป็น "คนดี" กว่า

***ล้มเหลว ไร้คุณภาพ***


เราไม่สามารถสร้าง "ปัญญาชน" หรือ "ผู้มีการศึกษา"
ได้มากกว่าที่เราลงทุน

ขนาดเราทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาคนไทย
ไม่ต่ำกว่าสามแสนล้านบาทในแต่ละปี
ให้ได้รับ "การศึกษา" ทุกระดับ ประมาณปีละ 17 ล้านคน
http://www.moe.go.th/data_stat/

โดยเฉพาะปีนี้เราลงทุนถึงสี่แสนสามหมื่นล้านบาท
เฉลี่ยเราลงทุนในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชน
คนละ 70 ล้านบาทต่อวัน

สรุป : สูญเปล่า "ด้านการศึกษา"
แต่กลับส่งเสริม "ชนชั้น" มากขึ้น

เราจึงได้พวกหลงตนเอง(be proud of oneself)มากขึ้น
ส่งเสริมอัตตา(Ego) ของพวกนักการศึกษาเพิ่มขึ้น
ขนาดคณบดี อธิการบดียังคิดว่าตัวเองสำคัญกว่าประชาชนทั่วไป
ทุกคนไม่ควรมีสิทธิมีเสียงเท่าคนอื่น


แล้วจะนับประสาอะไรกับนักศึกษา อาจารย์ธรรมดา
จะไม่คิดตามไปด้วยเล่า !!!!!
เพราะปลูกฝังกันมาโดยไม่รู้ตัว

ก็หวังว่าปี 2557 จะเป็นปีแห่งการทบทวน
เพื่อแก้ไข "สิ่งผิดพลาด" อย่างแท้จริง

หวังไปอย่างนั้นแหละครับ.

:::: โรงเรียนดี มีคุณภาพ ::::


รายงานผลการทดสอบมาตรฐานแห่งชาติ (O-net)
ของโรงเรียนต่างๆ  ที่ได้มาจากที่ต่างๆ เช่น
สำนักงานทดสอบแห่งชาติ (สทศ)
หรือ มาจากการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา
ไม่ว่าจะเป็นของหน่วยงานต้นสังกัด  หรือ ของ สมศ.

บอกได้แต่เพียงว่าโรงเรียนไหนได้คะแนน
แต่ละวิชาอยู่ระดับใดเท่านั้น
 
แต่ยังไม่สามารถสรุปถึงคุณภาพที่แท้จริงได้
เพราะคะแนนเหล่านี้มีตัวแปรมากมาย
ที่อาจไม่ใช่ผลการจัดการเรียนการสอนของครูที่แท้จริง

ซึ่งอาจจะมาจากการติวกับเพื่อน
หรือ มาจากการติวข้อทดสอบ O-net  ก่อนการสอบก็ได้
หรือ มาจากการเรียนพิเศษ (กวดวิชา) ในยามเย็น
หรือ จากสถาบันกวดวิชาในวันเสาร์อาทิตย์ก็ได้
หรือ ผู้ประเมินตรวจสอบให้คะแนนตามความรู้สึก
มากกว่าประเมินไปตามหลักวิชา หรือเกณฑ์
และสภาพการทำงานที่แท้จริงของโรงเรียน

.......................

ซึ่ง...รายงานพวกนี้ไม่สามารถบอกได้ว่า  โรงเรียนไหน
มีครูที่ดูแลเอาใจใส่นักเรียนด้วยความรัก
และคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อ
แบบเรียน  แบบฝึกหัด  เทคนิคการสอน
หรือนวัตกรรมอื่นๆ  เพื่อช่วยในการเรียนรู้ของนักเรียน


แต่...จากประสบการณ์ของผมที่ได้เคยไปพบเห็นโรงเรียนต่างๆ
ทั้งในฐานะผู้ทำงาน  ผู้ตรวจ  ผู้ประเมิน  ที่ปรึกษา และอาคันตุกะ


ผมสามารถชี้แนะได้เลยว่า   "โรงเรียนที่ดี   มีคุณภาพจริง"
สามารถดูได้จากสายตาคร่าวๆ  ดังนี้

1. พนักงานในสำนักงานอำนวยการ / ธุรการ  มีความเป็นมิตร

2. ยอมให้เข้าเยี่ยมห้องเรียนต่างๆ ได้เสมอทุกเวลา

3. ครูยิ้มแย้มสอนด้วยน้ำเสียงธรรมดาๆ เสียงไม่สูง ไม่เข้ม

4. ผู้บริหารมักชอบเดินไปตามห้องเรียนทุกห้อง  มากกว่าอยู่ที่ห้องทำงาน


และ  โรงเรียนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้
ผมสามารถ "สัมผัส" ได้ถึงความสุข  ความเชื่อมั่น
ความภูมิใจของนักเรียน  และบุคลากรทุกคน
จากน้ำเสียง  และกิริยาท่าทางได้


และเมื่อย้อนกลับไปดูรายงานจะเห็นโรงเรียนเหล่านี้
มักมีคะแนนผลการทดสอบแต่ละเรื่อง หรือแต่ละวิชา
อยู่ในเกณฑ์ดีไปด้วย


และเมื่อสอบถามประชาชนทั่วไป  หรือศิษย์เก่า
มักตอบเป็นเสียงเดียวกัน  ด้วยความชื่นชม


ในอดีตย้อนหลัง 20 ปีขึ้นไป
เรามีโรงเรียนแบบนี้มากมาย หลากหลายทั่วประเทศ
แต่...ตอนนี้หายากจริงๆ ครับ.