วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ทำไมสังคม จึงควรมีปรัชญา และ ศาสนาเป็นพื้นฐาน

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ปรัชญา ศาสนา การเมือง ไปด้วยกันได้ไหม ?
จริงๆ แล้ว ปรัชญา เป็นแค่ "แนวคิดหนึ่ง" ของมนุษย์ ที่พยายามหาเหตุผลที่มีความเป็นไปได้มาอธิบายเรื่องราวต่างๆ
ปรัชญา จึงไม่ใช่ข้อสรุป เป็นแค่ "แนวคิด" เท่านั้น
ส่วนศาสนา เป็นเรื่อง ของ"แนวทาง หรือคำแนะนำ" การใช้ชีวิตเพื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แก้ปัญหา แก้ทุกข์ ฯลฯ โดยชี้ให้เห็นว่า ปัญหาทุกอย่างเกิดขึ้นที่ "ใจ" แต่บางศาสนาให้เชื่อว่า "เกิดจากใจที่ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งดีงาม หรือเชื่อในพระเจ้า" แต่...ศาสนาพุทธ ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาหรือทุกข์ของคน เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นหลงผิด ของ "ใจที่ไม่มีสติปํญญาพอ"
ส่วนการเมือง ก็เป็นเรื่องของคนในสังคมที่จะต้องเลือกว่า "จะอยู่ หรือ จะใช้" แนวทางของระบบ หรือระบอบการปกครองเช่นใดเป็นแนวทางการดำรงชีวิตร่วมกัน
ดังนั้น เรื่องบางเรื่อง เราไม่สามารถที่จะมองดูเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว แบบแยกส่วนได้ ต้องใช้วิธีการมองดูเรื่องราวต่างๆ รอบตัวทั้งเรื่อง ชีวิต การทำงาน ครอบครัว ความรัก การเมือง ฯลฯ แบบบูรณาการ หรือองค์รวม
แต่ที่เรา ยกข่าวการเมือง หรือกระแสความเห็นต่อการเมือง เพราะการเมืองกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนรับรู้ร่วมกันมากมาย ถ้ายกละคร หรือบางเรื่อง ก็อาจจะมีผู้รับรู้ไม่กี่คน
ตัวอย่าง ข่าวการเมืองดังๆ หรือกระแสความเห็นต่อการเมือง ก่อนที่เราจะเชื่อ เราก็ควรใช้เหตุผล(ตรรกะ)ต่อข่าวนั้นๆก่อน แล้วหาข้อมูล ข้อเท็จจริงเพิ่ม (นี่คือปรัชญา) แล้วมาเทียบเคียงกับหลักศาสนาว่ามันควรเป็นอย่างไร (สติ-ปัญญาในศาสนาพุทธ) และบ้านเมืองเราจะเป็นอย่างไร หรือควรเป็นอย่างไร(รัฐศาสตร์ - การเมือง) เป็นต้น
บางครั้งผมจึงให้ความเห็นก่อนพิจารณาข่าวต่างๆ แก่นักศึกษาว่า "เชิญพิจารณาดูข้อมูลแต่ละชุด ว่าน่าเชื่อแค่ไหน" หรือ "ข้อมูลอีกด้าน" บางโพสต์ เช่น โพสต์สหายคำตัน ผมก็ให้ความเห็นต่อท้ายเช่น "นี่ก็เป็นการเมืองแบบไทยๆ และความย้อนแย้งที่ยากจะหาพบได้ที่ไหนในโลก"
เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านได้ใช้ปรัชญา หลักศาสนาที่ตนเองนับถือ เป็นหลักในการรับรู้หรือเสพข่าวสารนั้นๆ ครับ
ผมจึงนิยมใช้คำว่า "ปรัชญา ศาสนา สังคม การเมือง" และต่อท้ายว่า (โลกกว้างทางการศึกษา) ไงครับ
ถ้า...ทุกท่านรับรู้ และ เสพข่าวสารด้วยปรัชญา และใช้สติปัญญาตามหลักศาสนาพุทธ....
แค่นี้ผมก็ชื่นใจแล้วครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น